ข่าวประชาสัมพันธ์

ผู้ว่าเมืองปากน้ำ เป็นประธานในพิธีมอบเงินพระราชทานขวัญถุงกองทุนแม่ของแผ่นดินและพิธีมอบประกาศเกียรติคุณให้แก่หมู่บ้าน/ชุมชน มั่นคงปลอดภัยยาเสพติดอย่างยั่งยืน

%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%a7%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%9b%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3-%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b9%87%e0%b8%99%e0%b8%9b

วันนี้ 26 กันยายน 2565 เวลา 10.30 น. ที่ห้องประชุมซีคอมเพล็กซ์ เทศบาลตำบลบางปู อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานในพิธีมอบเงินพระราชทานขวัญถุงกองทุนแม่ของแผ่นดินและพิธีมอบประกาศเกียรติคุณให้แก่หมู่บ้าน/ชุมชน มั่นคงปลอดภัยยาเสพติดอย่างยั่งยืนจังหวัดสมุทรปราการ ประจำปี 2565 โดยมี นายเจนเจตน์ เจนนาวิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ นายประทีป นทีทวีวัฒน์ ปลัดจังหวัดสมุทรปราการ นายประสาร หยงสตาร์ ผู้อำนวยการสำนักงาน ปปส. ภาค 1 พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มผู้นำชุมชน และผู้แทนหมู่บ้าน ที่ได้รับการคัดเลือกจากอำเภอฯ เข้าร่วมพิธีกันอย่างพร้อมเพรียง
กองทุนแม่ของแผ่นดิน ได้ก่อกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ขณะที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จแปรพระราชฐาน ณ ตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร ทรงทราบถึงความอุตสาหะของชาวบ้านที่พยายามแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างสันติวิธี ด้วยพลังของตนเองและได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนหนึ่งให้กับเลขาธิการ ป.ป.ส. เพื่อให้คิดอ่านหาหนทาง ส่งมอบให้ชาวบ้านได้นำไปใช้ประโยชน์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จนเป็นที่มาของการจัดตั้ง “กองทุนแม่ของแผ่นดิน” ต่อจากนั้นสำนักงาน ป.ป.ส. ได้นำพระราชทรัพย์ที่ทรงพระราชทานดังกล่าวสมทบกับงบประมาณของสำนักงาน ป.ป.ส. เพื่อมอบคืนแก่หมู่บ้าน/ชุมชน เป็นเงินประเดิมเริ่มต้นกองทุนละ 8,000 บาท เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนอย่างยั่งยืน จึงได้มีการมอบเงินพระราชทานขวัญถุงกองทุนแม่ของแผ่นดินครั้งแรก ในปี 2547 และดำเนินงานต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
นับตั้งแต่ปี 2547 ถึงปี 2563 จังหวัดสมุทรปราการ มีหมู่บ้าน/ชุมชน ที่ได้รับเงินพระราชทานขวัญถุงกองทุนแม่ของแผ่นดินแล้วจำนวนทั้งสิ้น 234 หมู่บ้าน/ชุมชน สำหรับในปี 2565 สำนักงาน ป.ป.ส. ได้จัดพิธีมอบเงินพระราชทานขวัญถุงกองทุนแม่ของแผ่นดินให้ทุกจังหวัดไปแล้วเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2565 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ภายใต้แนวคิด 90 พรรษา แม่ของแผ่นดิน “ร้อยความรัก รวมดวงใจ ประชาไทยร่มเย็น” และมีหมู่บ้านต้นกล้ากองทุนแม่ของแผ่นดินจังหวัดสมุทรปราการได้รับเงินพระราชทานขวัญถุงกองทุนแม่ของแผ่นดิน รวมจำนวนทั้งสิ้น 18 หมู่บ้าน/ชุมชน จำแนกเป็นประจำปี 2564 จำนวน 9 หมู่บ้าน/ชุมชน และประจำปี 2565 จำนวน 9 หมู่บ้าน/ชุมชน และให้ทุกจังหวัดจัดพิธีมอบเงินพระราชทานขวัญถุงกองทุนแม่ของแผ่นดินให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2565 สำหรับการดำเนินงานตามแผนประชารัฐร่วมใจสร้างหมู่บ้าน/ชุมชน มั่นคงปลอดภัยยาเสพติดอย่างยั่งยืนในปี 2565 จังหวัดสมุทรปราการได้สนองนโยบายรัฐบาล และกระทรวงมหาดไทยอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน เนื่องจากเป็นจุดแตกหักในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในระดับพื้นที่ หากหมู่บ้าน/ชุมชน มีความเข้มแข็ง ประชาชนในพื้นที่ มีภูมิคุ้มกันที่ดี ปัญหายาเสพติดก็จะหมดไป โดยได้ดำเนินการในหมู่บ้าน/ชุมชน ทั้งหมด 581 หมู่บ้าน/ชุมชน โดยมีหมู่บ้าน/ชุมชน ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินเป็นหมู่บ้าน/ชุมชน มั่นคงปลอดภัยยาเสพติดอย่างยั่งยืนหรือหมู่บ้านเข้มแข็ง จำนวน 248 หมู่บ้าน/ชุมชน
คำว่า กองทุนแม่ของแผ่นดิน มีองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 เรียกว่า เงินขวัญถุงพระราชทาน เป็นพระราชทรัพย์ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้พระราชทานให้กับหมู่บ้านและชุมชน โดยสำนักงาน ป.ป.ส. ได้สมทบงบประมาณส่วนหนึ่งนำมาจัดสรรให้กับหมู่บ้านและชุมชน แห่งละ 8,000 บาท เงินจำนวนนี้เปรียบเสมือนสิ่งที่ระลึกถึงแห่งพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นเงินพระราชทานอันเป็นสัญลักษณ์แห่งพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น จึงถือเป็นเงินศักดิ์สิทธิ์อันหาที่เสมอเหมือนมิได้ จึงเก็บไว้เป็นเงินขวัญถุงในหมู่บ้าน/ชุมชน โดยไม่มีการใช้จ่าย ส่วนที่ 2 เรียกว่า ทุนศรัทธา เป็นเงินที่ราษฎรในหมู่บ้านและชุมชนที่ได้รับกองทุนแม่ของแผ่นดิน จะร่วมกันบริจาคอย่างต่อเนื่องและรวบรวมขึ้นด้วยพลังความศรัทธา สมทบเข้ากองทุนแม่ของแผ่นดินในแต่ละหมู่บ้าน เป็นการแสดงออกถึงทุนทางสังคมของหมู่บ้าน/ชุมชนที่ต้องการไม่ให้มีปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านอย่างเป็นรูปธรรม ส่วนที่ 3 เรียกว่า ทุนปัญญา เป็นเงินที่ราษฎรในหมู่บ้านและชุมชนดังกล่าว คิดค้นขึ้นด้วยภูมิปัญญาของตนเองในการระดมทุนเพื่อขยายกองทุน ให้กองทุนมีการงอกเงยขึ้น จนสามารถนำไปใช้จ่ายเพื่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดของหมู่บ้านได้อย่างเพียงพอต่อไป

0 Comments

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*

WordPress Image Lightbox Plugin